Warning: escapeshellcmd() has been disabled for security reasons in /home/www/virtual/hardsongkwae.go.th/htdocs/th/libraries/vendor/phpmailer/phpmailer/class.phpmailer.php on line 1454
แหล่งเรียนรู้

แหล่งเรียนรู้

สารบัญ

ระบบจัดการขยะ

แนวคิดหลัก

สืบเนื่องมาจากตำบลหาดสองแควยังไม่มีการจัดการขยะ และมองเห็นว่าถ้าไม่จัดการขยะอนาคตตำบลจะเป็นตำบลที่ไม่น่าอยู่ อบต.จึงทำความตกลงกับมหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์ เพื่อเป็นเครือข่ายในการจัดการขยะร่วมกัน โดยเน้น “การจัดการสิ่งแวดล้อมด้วยตนเอง ส่งเสริมการมีส่วนร่วม เพิ่มมูลค่าของใช้” มีการจัดทำข้อมูลขยะในพื้นที่ นำข้อมูลขยะมาวิเคราะห์พบว่าส่วนใหญ่ย่อยสลายร้อยละ 60 ขายและแปรรูปได้ร้อยละ 30 ร้อยละ 1 จัดการไม่ได้ นำข้อมูลที่ได้นำสู่เวทีประชาคมหาแนวทางแก้ปัญหาร่วมกัน มีการลงมติให้มีการคัดแยกขยะในครัวเรือน จัดทำผ้าป่าขยะ มีการฝึกอบรมเรื่องของการจัดการขยะให้แก่ประชาชน เช่น การคัดแยกขยะ การทำจุลินทรีย์แห้ง การนำถุงพลาสติกมาใช้ เป็นต้น จากการคัดแยกขยะนำไปสู่การทำปุ๋ยอินทรีย์จากขยะเพื่อใช้ในการเกษตร  และได้เกิดการร่วมกลุ่มของประชาชนในชุมชนรักษ์สิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น

แปลงสาธิตผลผลิตจากการใช้น้ำหมักชีวภาพจากขยะในครัวเรือน ทาง อบต. หาดสองแควยังไม่มีการจัดการขยะ และได้คิดว่าถ้าหากไม่มีการกำจัดขยะในอนาคตจะส่งผลเสียให้กับกับชุมชน  ทาง อบต.หาดสองแคว จึงประสานงานกับทางมหาวิทยาลัย ราชภัฏอุตรดิตถ์เพื่อหาวิธีในการจัดการขยะร่วมกัน และได้มีการจัดการกับสิ่งแวดล้อมด้วยตนเอง และส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมและเป็นการประยุกต์ใช้ทรัพยากรให้เกิดคุณประโยชน์สร้างวิกฤติให้เป็นโอกาสจากขยะในครัวเรือนให้มีคุณค่า เช่น  การคัดแยกขยะในครัวเรือน การทำจุลินทรีแห้ง  และการนำขยะที่เหลือใช้ในครัวเรียนมาทำเป็นปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ

ป้าประทุม มีวังแดง(ป้าสร้อย) ประกอบอาชีพเกษตรกรโดยการใช้สารเคมีจึงทำให้เกิดการแพ้สารเคมี จึงหยุดทำการเกษตร  พ.ศ. 2548 ทาง อบต. หาดสองแควได้มีการแนะนำให้ไปอบรมในเรื่องของการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม ที่ศูนย์เรียนรู้มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ก็เลยเกิดการสนใจ จึงเข้าร่วมอบรมและได้นำแนวทางจากการเข้าร่วมการอบรมมาทดลองทำและมีการรวมกลุ่มผู้ที่ไปทำการอบรม ได้มีการออกทุนคนละ100 บาทในการทดลองทำน้ำหมักชีวภาพจากขยะที่เหลือใช้ในครัวเรือน เช่น เปลือกแตงโม ฟัก ฟักทอง สับประรส ส้ม มะนาว มะกุด ส้มโอ เป็นต้น จากการทดลองทำแล้วไม้มีการแพ้ จึงมีการทำใช้เองในสวนและมีการปลูกพืชผลเพิ่มอีก หลังจากที่ใช้แล้วได้ผลดี  พืชผลอุดมสมบรูณ์ดีและไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย และมีผู้บริโภคมาซื้อกันจำนวนมาก เพราะพืชผลที่ปลูกไม่ใช้สารเคมีจึงไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค  หลังจากนั้นประมาณในปี พ.ศ.2549 ทาง อบต.หาดสองแคว ได้มาติดตามในการเข้าร่วมอบรมการจัดการขยะและดูนำมาขยายผลจึงมาขอความร่วมมือจากคุณป้าประทุม มีวังแดง ให้ข้อมูลในการทำน้ำหมักชีวภาพจากขยะที่เหลือในครัวเรือนทาง อบต.หาดสองแคว จึงขอความอนุเคราะห์ในเรื่องของการเป็นวิทยากรให้ความรู้ในเรื่องของการทำน้ำหมักชีวะภาพจากขยะที่เหลือใช้ในครัวเรือน และให้แปลงเกษตรสวนมะนาว เป็นศูนย์เรียนรู้

กลุ่มจักรยานสานฝันร่วมกับเยาวชนรักษ์สิ่งแวดล้อม หมู่ที่ 1 - 7 ตำบลหาดสองแคว กลุ่มจักรยานสานฝันร่วมกับเยาวชนรักษ์สิ่งแวดล้อม หมู่ที่ 1-7 ตำบลหาดสองแคว จุดเริ่มต้นของกลุ่มนี้เกิดเมื่อประมาณ  2543  โดยมีกลุ่มเยาวชนรุ่นแรกเรียนรู้ทำปุ๋ยหมักและใช้ปุ๋ยกับการปลูกผักของกลุ่ม โดยแปลงผักตั้งอยู่บริเวณที่ตั้งของอบต.ปัจจุบัน โดยเมื่อปลูกผักได้ผลผลิตแล้วจะนำไปขายแก่คนในตำบลและหมู่บ้านโดยเด็กๆ จะปั่นจักรยานไปขาย และขณะปั่นไปตามถนนมองเห็นขยะที่เรี่ยราดข้างทางและรู้สึกไม่อยากให้คนอื่นๆมองว่าหมู่บ้านไม่มีระเบียบ สกปรก จึงเริ่มการเก็บขยะไปพร้อมๆ กับการขายผัก และเยาวชนก็ได้ชักชวนรุ่นน้องเข้ากลุ่ม ต่อมาเมื่อ 2546 พื้นที่แปลงผักกลายเป็นพื้นที่ตั้ง อบต. กลุ่มจึงต้องเลิกปลูกผัก แต่ก็ยังปั่นจักรยานเก็บขยะ โดยเก็บขยะทุกหมู่และในขณะเดียวกัน อบต. ไม่มีงบประมาณซื้อรถขยะ จึงได้ระดมความคิดกันระหว่างคนในพื้นที่ ตกลงกันว่าจะจัดการขยะกันเองและได้ทำ MOU กับมหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อเข้ามาสอนการจัดการขยะ  สอนเยาวชนคัดแยกขยะ ในปี  2548 กำนันหมู่ 3 เห็นว่าหมู่ 2 ก็ทำได้ยังได้กระตุ้นให้เยาวชนเข้าร่วมกลุ่มและเก็บขยะของหมู่บ้านตนเอง และได้แพร่ขยายไปหมู่ที่เหลือทั้งหมด ปัจจุบันเด็กเยาวชนยังปั่นจักรยานเก็บขยะและยังบำรุงดูแลต้นไม้ข้างทางด้วย การขายขยะจะทำการขายกับธนาคารขยะในหมู่บ้านโดยจะบันทึกรายได้จากการขายและจะจ่ายเงินปีละครั้ง กลุ่มเยาวชนเองก็มีการผลัดรุ่นใหม่ขึ้นมาจัดการโดยกลุ่มเด็กที่ขึ้นมาใหม่ก็คือรุ่นน้องที่เห็นรุ่นพี่ทำและทำพร้อมพี่ รุ่นพี่เองก็ยังคอยดูแลให้คำแนะนำแก่น้องๆ รุ่นพี่หรือผู้ใหญ่ที่คอยดูแลจะคอยระวังอันตรายจากภัยจราจร ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือ เด็กมีสำนึกรักษ์บ้านเกิด อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ชุมชนสะอาด ร่างกายแข็งแรง เด็กๆมีพื้นที่เรียนรู้และสังสรรค์ทางสังคม และสมาชิกกลุ่มยังเป็นคนสำคัญของสภาเด็กซึ่งเป็นองค์กรที่จะสะท้อนปัญหาความต้องการของเด็กในการร่วมพัฒนาท้องถิ่น

ธนาคารขยะ ในปี 2552 ได้เกิดธนาคารขยะประจำหมู่บ้าน เพื่อต้องการให้เด็กมีการเห็นคุณค่าของขยะ เกิดรายได้ มีการออม จึงมีการจัดตั้งธนาคารขยะขึ้นเพื่อให้เด็กเก็บขยะมาฝาก และมีการบันทึก จำนวนขยะ เมื่อสิ้นปีให้เด็กสามารถเบิกเงินจากการเก็บขยะไปใช้ได้ กลุ่มเยาวชนเองก็มีการผลัดรุ่นใหม่ขึ้นมาจัดการโดยกลุ่มเด็กที่ขึ้นมาใหม่ก็คือรุ่นน้องที่เห็นรุ่นพี่ทำและทำพร้อมพี่ รุ่นพี่เองก็ยังคอยดูแลให้คำแนะนำแก่น้องๆ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือ เด็กมีสำนึกรักษ์บ้านเกิด อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ชุมชนสะอาด ร่างกายแข็งแรง เด็กๆมีพื้นที่เรียนรู้และสังสรรค์ทางสังคม และสมาชิกกลุ่มยังเป็นคนสำคัญของสภาเด็กซึ่งเป็นองค์กรที่จะสะท้อนปัญหาความต้องการของเด็กในการร่วมพัฒนาท้องถิ่น

Visit the new site http://lbetting.co.uk/ for a ladbrokes review.