แหล่งเรียนรู้

สารบัญ

ระบบเกษตรเพื่อสุขภาวะ

แนวคิดหลัก

ตำบลหาดสองแควเป็นพื้นที่เกษตรกรรม ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 80 ประกอบอาชีพทำนา เกษตรกรต้องเผชิญกับภัยแล้ง ใช้สารเคมีในการเร่งผลผลิตมากทำให้ต้นทุนในการผลิตสูง ดินเสื่อม ผลผลิตไม่ได้ราคา เกษตรกรในตำบลจึงรวมกลุ่มกันเพื่อแก้ปัญหาโดยเน้น “ลดการใช้สารเคมี อยู่อย่างพอเพียง ลดต้นทุนการผลิต เพิ่มรายได้” โดยใช้ทรัพยากรในพื้นที่เพื่อแก้ปัญหา  ผ่านการจัดการด้วยเวทีประชาคม บนฐานคิดของการนำใช้ความรู้ควบคู่แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เช่น การทำแปลงนาสาธิตข้าวเกษตรอินทรีย์ การทำปุ๋ยอินทรีย์ การรวมกลุ่มปลูกข้าวอินทรีย์เพื่อการบริโภคและการจำหน่าย กลุ่มสถานีสูบน้ำบ้านเด่นสำโรง เป็นต้น  โดยมีเป้าหมายให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความเข้มแข็ง สามารถพึ่งตนเองได้

กลุ่มปุ๋ยอินทรีย์ เกษตรกร ต้องการลดการใช้ปุ๋ยเคมี และลดต้นทุนการซื้อปุ๋ยอินทรีย์ จึงได้รวมกลุ่มกันคิดและลงมือช่วยกันทำปุ๋ยอินทรีย์ขึ้นใช้เอง มีการนำใช้ในแปลงของตนเอง เช่น แปลงปลูกแก้วมังกร สวนผลไม้ปลอดสารพิษ เป็นต้น ทำให้ดินมีสภาพดี ดินโปร่งร่วนซุย ลดสารเคมีตกค้างในดินและปลอดภัยสำหรับเกษตรกร และขยายไปยังเกษตรกรหมู่บ้านอื่นๆ เช่น กลุ่มปุ๋ยอินทรีย์ 1 ปัจจุบันองค์การบริหารส่วนตำบลหาดสองแคว ได้เข้ามาให้ความช่วยเหลือสนับสนุนด้านการส่งเสริมความรู้ และดำเนินการเผยแพร่ความรู้ จนทำให้ทุกหมู่บ้านมีโรงปุ๋ยครบทุกหมู่บ้าน

กลุ่มข้าวอินทรีย์ตำบลหาดสองแคว เริ่มก่อตั้งเมื่อ ปี พ.ศ. 2553 องค์การบริหารส่วนตำบลหาดสองแควมีแนวคิดให้ประชาชนในตำบลหันมาปลูกข้าวอินทรีย์เพื่อผลิตข้าวปลอดสารให้คนในตำบลได้รับประทาน และเพื่อลดการใช้สารเคมี ต่างๆที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ กับเกษตรกรเอง  ผู้บริโภค ธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศน์ในแปลงนา และเป็นการลดต้นทุนในการผลิตทางการเกษตรทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น จึงได้มีการตั้งกลุ่มข้าวอินทรีย์ตำบลหาดสองแควขึ้นโดยมีสมาชิก 23 คน มีการอบรมเรื่องของการปลูกข้าวอินทรีย์ และจัดทำแปลงสาธิตปลูกข้าวอินทรีย์ เพื่อให้สมาชิกได้มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

กลุ่มเกษตรกรทำนาหาดสองแคว จากการที่เกษตรกรมีน้ำในการทำนาไม่เพียงพอ ทำให้ผลผลิตตกต่ำ จึงได้รวมกลุ่มเกษตรกรไปขอความอนุเคราะห์จากกรมชลประทาน ได้สถานีสูบน้ำพลังงานไฟฟ้า 1 แห่ง สูบน้ำจากแม่น้ำน่าน และคลองส่งน้ำยาว 4 กิโลเมตร และได้มีการก่อตั้งเป็นกองทุนหมุนเวียนในเรื่องของปุ๋ยต่างๆที่จะใช้ในการทำนาเพื่อให้สมาชิกได้กู้ยืมไปลงทุน แล้วส่งคืนหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และได้จัดทำลานตากข้าวพร้อมตาชั่งใช้เป็นจุดศูนย์กลางให้พ่อค้ามารับซื้อข้าว โดยใช้ท่าข้าวของกลุ่มเป็นศูนย์กลางการรับซื้อและเก็บเงินกับพ่อค้ารับซื้อตันละ 35 บาท

กลุ่มสูบน้ำบ้านเด่นสำโรง เนื่องจากมีการถ่ายโอนเครื่องสูบน้ำพลังงานให้ อบต.ดูแล โดยแยกออกจากกลุ่มเกษตรกรทำนาบ้านหาดสองแคว หมู่ที่ 4 เพื่อทำงานให้เป็นสัดส่วน และการบริหารงานที่รวดเร็วยิ่งขึ้นซึ่งแยก โดยใช้ฐานสมาชิกกลุ่มเดียวกันกับกลุ่มเกษตรกรทำนาบ้านหาดสองแคว หมู่ที่ 4  มีการสมัครเป็นสมาชิกหุ้นละ 20 บาท โดยทางกลุ่มมีการบริหารจัดการในรูปแบบการแต่งตั้งคณะกรรมการในการบริหารจัดการจำนวน 9 คนโดย เลือกจาก อบต. 5 คน และจากสมาชิกกลุ่มอีก 4 คน  รวม 9 คน มีกฎระเบียบในการจ่ายค่าบริการใช้น้ำไร่ละ 150 บาทต่อไร่ ส่วนผู้ที่สูบน้ำต่อจากคลองคิด ไร่ 100 บาท ตลอดปี

ศูนย์เรียนรู้เกษตรธรรมชาติเชิงท่องเที่ยวและอนุรักษ์ เกิดปี 2551 จากแนวคิดการบริหารงานของผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย หมู่ 3 เห็นว่าประชาชนในตำบลประกอบอาชีพเกษตรกรรมจึงได้มีการจัดทำฐานการเรียนรู้สาธิตทดลองเกษตรกรรมธรรมชาติ 5 ฐานการเรียนรู้ ได้แก่ 1.)นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ 2.)การจัดการพื้นที่ทำกินตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3.)การจัดการความรู้เรื่องปุ๋ย 4.)การจัดการความรู้เรื่องดิน 5.)อาชีพเฉพาะ โดยมีวิทยากรมาจากปราชญ์ชาวบ้าน มีประชาชนในตำบลเข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในศูนย์

Visit the new site http://lbetting.co.uk/ for a ladbrokes review.