แหล่งเรียนรู้

สารบัญ

ระบบสุขภาพชุมชนและอาสาสมัคร

แนวคิดหลัก

องค์การบริหารส่วนตำบลหาดสองแคว ได้กำหนดนโยบายการพัฒนาสาธารณสุขและส่งเสริมคุณภาพชีวิตครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย เพื่อต้องการให้ประชาชนในตำบลหาดสองแคว เกิดความเสมอภาค เท่าเทียมกันและเข้าถึงบริการทางด้านสุขภาพ โดยเน้นกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการพัฒนายกระดับงานด้านการจัดการสุขภาวะชุมชนแบบองค์รวม มีอาสาสมัครที่มีจิตอาสาเข้ามาดูแล เช่น อาสาสมัครสาธารณสุขตำบล, อาสาสมัครสาธารณสุขน้อย โดยมีกองทุนสุขภาพชุมชนตำบลหาดสองแควเป็นกลไกในการขับเคลื่อนให้เกิดการมีส่วนร่วมขององค์กรภาคีท้องถิ่น ท้องที่ ภาครัฐ ภาคประชาชน ช่วยดูแลสุขภาพประชาชนในตำบลหาดสองแคว

กองทุนสุขภาพชุมชนตำบลหาดสองแคว องค์การบริหารส่วนตำบลหาดสองแควได้เล็งเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพและการเข้าถึงบริการสาธารณสุขของคนในชุมชน ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2549 จึงได้เข้าร่วมโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) เพื่อจัดตั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพในตำบลหาดสองแคว และได้รับงบประมาณสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบล ในปี 2550 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการกองทุน, คณะอนุกรรมการกองทุนเพื่อจัดกิจกรรมเน้นการส่งเสริมและป้องกันโรคให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย แต่ประชาชนยังไม่เข้าใจในหลักการทำงานของโครงการ ทางกองทุนหลักประกันสุขภาพในตำบลหาดสองแคว จึงจัดให้มีการประชาสัมพันธ์โครงการพร้อมโครงการ อบต.เคลื่อนที่ จึงเกิดโครงการต่างๆ ขึ้นในปีนี้ โดยให้ประชาชนเขียนและทำโครงการเพื่อสนับสนุนกิจกรรมที่ต้องการทำในกลุ่มจากการสนับสนุนใน 4 แผนงาน ประกอบด้วย การจัดการบริการสุขภาพตามชุดสิทธิประโยชน์, การสนับสนุนงบประมาณสาธารณสุขในชุมชนท้องถิ่น, การสร้างสุขภาพโดยประชาชนและชุมชนท้องถิ่น, การบริหารจัดการกองทุน/พัฒนาระบบบริหารจัดการกองทุน พร้อมกับการติดตามของคณะกรรมการ ซึ่งโครงการที่ได้รับการอนุมัติจะต้องมีการทำ MOU(ให้ค่าดำเนินงาน 50%) หลังจากเสร็จสิ้นกิจกรรมมีการนำเสนอผลงานต่อคณะกรรมการ(จ่ายค่าดำเนินการ 50%) ต่อมาประชาชนเห็นถึงความสำคัญและต้องการมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือชุมชน จึงได้ทำประชาคมเกิดเป็นการจ่ายเงินสวัสดิการจากประชาชน 9 บาทต่อปี ในปี 2552 ประชาชนที่มีความเชื่อเกี่ยวกับการอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ล่วงลับ ได้นำเงินเข้าสมทบกองทุนหลักประกันสุขภาพในตำบล เมื่อมีผู้เสียชีวิต และได้เปลี่ยนชื่อเป็น “กองทุนสุขภาพชุมชนตำบลหาดสองแคว” โดยปี 2553 มีโครงการที่ได้รับอนุมัติและดำเนินการแล้ว เช่น โครงการสวัสดิการหญิงตั้งท้องรับน้องสู่ขวัญ โดยได้ดูแลหญิงตั้งท้องตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาจนกระทั่งคลอดให้มีสุขภาพที่ดีตั้งแต่แรกเกิด และมีการดูแลให้ความรู้เบื้องต้นกับประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่มีจุดเสี่ยงโดยมีทีมงานอาสาสมัครแต่ละหมู่บ้านให้ความรู้พร้อมทั้งแนะนำ เป็นต้น

กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.) กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขเกิดจากคนในชุมชนเข้าถึงการบริการของอนามัย และโรงพยาบาลน้อยจึงทำให้ผู้ที่มีจิตอาสาเข้ามาดูแลเรื่องสุขภาพอนามัยของคนในชุมชนเบื้องต้น ทำให้เกิดกลุ่ม อสม.ขึ้น ที่มาของกลุ่ม อสม.เริ่มจากในปี พ.ศ. 2527 ได้มีนโยบายจากกระทรวงสาธาณสุขเข้ามาและให้ก่อตั้งผู้สื่อข่าวสาธารณสุข(ผสส.)ขึ้น เพื่อดูแลในเรื่องสาธารณสุข ต่อมาปี 2535 กระทรวงสาธารณสุขได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างและเปลี่ยนชื่อเป็น “อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.)” ซึ่งเน้นเรื่องเฝ้าระวังและป้องกันการเกิดโรค โดยทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข มีคณะกรรมการที่มาจากทุกหมู่บ้านซึ่ง อสม. ส่วนใหญ่มาจากจิตอาสาและเห็นตัวอย่างจากผู้นำในชุมชนเป็นตัวกระตุ้นในการสร้างจิตอาสาขึ้นในชุมชน เช่น นายกองค์การบริหารส่วนตำบล,รองนายก,ผู้นำชุมชน เคยทำงานอาสาหรือเป็น อสม. ต่อมาได้จัดตั้งชมรม อสม.ประจำตำบลขึ้น เพื่อให้มีการทำงานในภาพรวมของตำบลและจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชมรม อสม. เพื่อเป็นกองทุนในการช่วยเหลือดูแล อสม. และคนในครอบครัว โดยการเก็บค่าสมาชิกแรกเข้า 15 บาทต่อคนและเก็บ อสม. 50 บาทต่อปี เก็บจากผู้ขาดประชุมครั้งละ 20 บาท เข้าสมทบชมรมเพื่อจัดสวัสดิการกรณี อสม. เสียชีวิต ต่อมาปี 2550 อสม. ได้ร่วมกันเขียนโครงการเพื่อของบประมาณจากกองทุนสุขภาพชุมชนหลายโครงการและดำเนินการโดยกลุ่ม อสม. ทำให้เกิดความภาคภูมิใจแก่กลุ่ม ในปัจจุบันตำบลหาดสองแคว มี อสม. จำนวน 100 คนดูแลรับผิดชอบ 1 คน ต่อ 10-15 หลังคาเรือน มีการประชุมกันทุกๆเดือน พร้อมกับสร้างอาสาสมัครสาธารณสุขน้อย(อสม. น้อย) แบบขยายผล โดยผู้ที่เป็น อสม. จะต้องนำลูกหลานของตนมาเข้าร่วมทำกิจกรรมหรือเป็นผู้ติดตามในการทำงานเพื่อการสืบทอดและหนุนเสริมการทำงานให้กับ อสม. เป็นการสร้างจิตอาสาให้แก่เด็กและเยาวชน

ศูนย์พัฒนาครอบครัวชุมชนตำบลหาดสองแคว เพื่อเป็นศูนย์กลางในการเฝ้าระวัง ป้องกัน แก้ไข ส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่ครอบครัว ให้คำแนะนำ และเป็นตัวแทนเครือข่ายครอบครัว ประกอบกับกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ต้องการสร้างศูนย์พัฒนาครอบครัวให้เกิดในตำบล จึงจัดตั้งศูนย์พัฒนาครอบครัวตำบลหาดสองแควขึ้นในปี 2547 โดยมี นางบุญนาค เอกา เป็นประธานในการสร้างเครือข่ายระดับหมู่บ้าน และมีการบริหารจัดการในรูปของคณะทำงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนซึ่งประกอบด้วยตัวแทน /องค์กร /กลุ่มในชุมชน ต่อมาปี 2550 ได้ถ่ายโอนงานมาให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลหาดสองแควรับผิดชอบ จึงได้จัดตั้งคณะกรรมการระดับตำบล 21 คน โดยมีนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นประธาน, คณะกรรมการระดับหมู่บ้าน หมู่บ้านละ 10 คน(ทั้งหมด 7หมู่ เท่ากับ 70 คน) แต่งตั้งให้ผู้ใหญ่บ้านเป็นประธานระดับหมู่บ้าน รวมคณะกรรมการศูนย์พัฒนาครอบครัวชุมชนองค์การบริหารส่วนตำบลหาดสองแคว  จำนวน 91 คน และดูแลครอบคลุมทั้ง 1,121 ครัวเรือน โดยมีที่ทำการอยู่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลหาดสองแคว ผลงานเด่นคือ เป็นต้นแบบเฉลิมพระเกียรติร่วมกับที่ทำงานร่วมกับอบต. ร่วมกันทำกิจกรรม

Visit the new site http://lbetting.co.uk/ for a ladbrokes review.