ยุทธศาสตร์ / การพัฒนา

สารบัญ


ยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ยุทธศาสตร์การพัฒนา

  1. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
  2. ด้านการศึกษา
  3. ด้านการเกษตร
  4. ด้านศาสนา ประเพณีวัฒนธรรม นันทนาการ การท่องเที่ยว และภูมิปัญญาท้องถิ่น
  5. ด้านสาธารณสุข
  6. ด้านการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน

เป้าประสงค์

ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

  1. เพื่อให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภคและเพื่อทำการเกษตรอย่างเพียงพอ
  2. เพื่อให้ประชาชนมีเส้นทางคมนาคมที่สามารถเดินทางได้สะดวก รวดเร็ว
  3. เพื่อให้ประชาชนมีการติดต่อสื่อสารที่สะดวกรวดเร็ว
  4. เพื่อให้ประชาชนมีไฟฟ้าใช้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ
  5. เพื่อให้มีไฟฟ้าสาธารณะที่จำเป็นครอบคลุมทุกพื้นที่เขตตำบลหาดสองแคว
  6. เพื่อพัฒนาด้านการผังเมืองและการควบคุมอาคารที่เป็นกิจการที่เป็นสาธารณประโยชน์ภายในชุมชนให้มีคุณภาพและทั่วถึง

ด้านการศึกษา

  1. เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
  2. เพื่อส่งเสริมการศึกษาทั้งก่อนปฐมวัยและระดับประถมศึกษา เช่น อาหารกลางวัน อาหารเสริมนม ทุนการศึกษา วัสดุอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น

ด้านการเกษตร

  1. เพื่อให้ราษฎรมีอาชีพที่เข้มแข็งและยั่งยืน
  2. เพื่อให้ราษฎรมีเงินทุนสำหรับพัฒนากลุ่มอาชีพทุกกลุ่ม
  3. เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการประกอบอาชีพทางการเกษตรแปรรูป
  4. เพื่อพัฒนาศักยภาพของกลุ่มต่าง ๆ
  5. ส่งเสริมวัสดุอุปกรณ์ในการเพิ่มมูลค่าสินค้า
  6. พัฒนาทรัพยากรทางการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพสมดุลและยั่งยืน
  7. เพื่อสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

 ด้านศาสนา ประเพณีวัฒนธรรม นันทนาการ การท่องเที่ยว และภูมิปัญญาท้องถิ่น

  1. เพื่อส่งเสริม พัฒนา ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวชุมชนอย่างต่อเนื่อง
  2. พัฒนาเครือข่ายการท่องเที่ยวในชุมชนให้มีการรวมตัวอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน
  3. ส่งเสริมศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นทุกระดับ
  4. ปลูกจิตสำนึกให้กับเยาวชนในการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามของชุมชน
  5. ส่งเสริม สนับสนุนอุปกรณ์กีฬาให้กับเด็ก เยาวชนและประชาชนทั่วไป
  6. สนับสนุนกิจกรรมนันทนาการสำหรับเด็ก เยาวชนและประชาชนทั่วไป

ด้านสาธารณสุข

  1. เพื่อให้ประชาชนได้รับการบริการสาธารณสุขมูลฐานได้อย่างมีคุณภาพ และมาตรฐานทั่วถึงทุกพื้นที่
  2. เพื่อส่งเสริมสุขภาพอนามัยของประชาชน
  3. เพื่อจัดสวัสดิการและกองทุนสำหรับผู้สูงอายุ ผู้ยากไร้ ผู้พิการและผู้ป่วยเอดส์ให้ทั่วถึง

 ด้านการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน

  1. เพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตำบล
  2. เพื่อให้การบริหารประชาชนมีความสะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ
  3. เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน
  4. เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
  5. เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

 



กลยุทธ์การพัฒนา

ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

  1. มีกระบวนการทำงานที่เป็นระบบ
  2. รับฟังความคิดเห็นประชาชน
  3. เข้าถึงพื้นที่ที่ได้รับความเดือดร้อน
  4. บริการประชาชนด้วยความรวดเร็วทันใจและยิ้มแย้มแจ่มใส

ด้านการศึกษา

  1. รับฟังความคิดเห็นและให้เด็กเยาวชนเป็นผู้เสนอกิจกรรมที่ต้องการ
  2. ให้ความสำคัญและปลูกฝังวัฒนธรรมในเด็กก่อนวัยเรียน
  3. ใช้กระบวนการเด็กนำผู้ใหญ่หนุน คือให้เด็กและเยาวชนเป็นผู้คิดกิจกรรมที่สร้างสรรค์และมีแกนนำ/ผู้นำชุมชนและท้องถิ่นเป็นผู้สนับสนุนทั้งเรื่องงบประมาณและวิธีการทำกิจกรรมร่วมกัน

ด้านการเกษตร

  1. ให้ความสำคัญกับเกษตรกร แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนเกี่ยวกับการทำเกษตรกรรม
  2. สนับสนุนกลุ่มทำเกษตรอินทรีย์และกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม
  3. ร่วมงานกับฝ่ายวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ในการให้ความรู้เรื่องเทคโนโลยีการเกษตร และการทำนาแบบลดต้นทุน

ด้านศาสนา ประเพณีวัฒนธรรม นันทนาการ การท่องเที่ยว และภูมิปัญญาท้องถิ่น

  1. ส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนเชิงวัฒนธรรมและสนับสนุนเยาวชนในการจัดการแข่งขันกีฬาในระดับตำบลและอำเภอ มีพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อให้เยาวชนได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี

ด้านสาธารณสุข

  1. ใช้กระบวนการเชิงรุก บุกถึงบ้าน การให้บริการประชาชนถึงในบ้าน มีการตรวจวัดความดัน สอบถามเรื่องสุขภาพ ดูแลเรื่องการใช้ยา สำหรับผู้ป่วยเรื้อรัง ดูแลผู้ป่วยติดเตียงร่วมกับ อสม.ของหมู่บ้าน

ด้านการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน

  1. สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน เน้นให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทุกกิจกรรมของอบต. มีการทำงานที่โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ และประชาชนได้รับประโยชน์มากที่สุด
  2. มีระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพและประชาชนสามารถเข้าถึงการบริการได้อย่างง่ายดาย เช่น การสื่อสารผ่านระบบโซเซียล การประกาศเสียงตามสาย และการรับข้อมูลข่าวสารผ่านหนังสือพิมพ์ของตำบล เป็นต้น


แนวคิดในการวางแผนพัฒนาท้องถิ่น

จากแนวคิดในการวางแผนและหลักการวางแผนพัฒนาท้องถิ่นในเชิงยุทธศาสตร์องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรมีแนวคิดในการจัดทำและประสานแผนพัฒนาอย่างน้อย 4 แนวคิด ดังนี้

แนวคิดที่ 1 กระบวนการแก้ไขปัญหา

เริ่มต้นด้วยการตอบคำถามเป็นขั้นตอนดังนี้

  1. ปัญหาคืออะไร
  2. ปัญหามีสาเหตุมาจากอะไร
  3. จุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ในการแก้ไขปัญหาคืออะไร
  4. วิธีการหรือแนวทางแก้ไขปัญหาคืออะไร ในการตอบปัญหาที่สี่ ต้องใช้ความสามารถในการคาดการณ์ และความรู้ทางวิชาการทั้งที่เป็นทฤษฎีและปรึกษาจากผู้รู้ ผู้มีประสบการณ์

แนวคิดที่ 2 กระบวนและเนื้อหาของวิธีการ

แนวคิดนี้เกี่ยวข้องกับการกำหนดโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และมุ่งสู่การบรรลุวัตถุประสงค์ โดยที่จะต้องตอบคำถามทั้ง 8 คำถาม คือ

  1. จะทำไปทำไม
  2. จะทำอะไร
  3. จะทำที่ไหน
  4. จะทำเมื่อไหร่
  5. จะทำโดยใคร
  6. จะทำเพื่อใคร
  7. จะทำอย่างไร
  8. จะจ่ายเท่าไร

แนวคิดที่ 3 ความคิดสร้างสรรค์

เป็นการมองอนาคตที่ต้องอาศัยความรู้ที่เกิดจาก

  1. สัญชาตญาณ หรือการเรียนรู้จากประสบการณ์
  2. องค์แห่งการเรียนรู้ หรือเรียนรู้จากข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น
  3. เรียนรู้จากผู้อื่น โดยอาจศึกษาเปรียบเทียบจากบทเรียนแห่งความสำเร็จของหน่วยงานอื่น รวมทั้งการศึกษาองค์ความรู้ งานวิจัยต่างๆ
  4. การวิเคราะห์สถานการณ์ ซึ่งเป็นการประเมินสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก

แนวคิดที่ 4 การตัดสินใจ

ต้องตัดสินใจด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลและผสมผสานหลักการตัดสินใจแบบมีเหตุผล(Rationalism)กับ หลักการตัดสินใจแบบเพิ่มขึ้น(Instrumentalism)แต่ทั้งนี้ต้องมุ่งการบรรลุวัตถุประสงค์ของการพัฒนาและประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญ

โดยสรุป

การวางแผนพัฒนาท้องถิ่น ต้องปรับกระบวนความคิด โดยมุ่งเน้นผลที่เกิดผลลัพธ์ (Outcome)  เป็นตัวตั้ง แล้วนำมาคิดหางานที่จะทำ (Input) รวมทั้งวิธีการที่จะทำงานให้สำเร็จและมีประสิทธิภาพกระบวนการ (Process)  ซึ่งจะนำไปสู่การพิจารณาจัดสรรทรัพยากร การบริหารเพื่อดำเนินการได้อย่างเหมาะสม

 

ข้อมูลแผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2561-2565) องค์การบริหารส่วนตำบลหาดสองแคว

Visit the new site http://lbetting.co.uk/ for a ladbrokes review.