แหล่งเรียนรู้

สารบัญ

ระบบภูมิปัญญาท้องถิ่น

แนวคิดหลัก

องค์การบริหารส่วนตำบลหาดสองแคว ได้เล็งเห็นความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่มีความเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์และแหล่งวัฒนธรรมที่บ่งบอกถึงรากเหง้าของชุมชน และกิจกรรมทางประเพณีวัฒนธรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตและการประกอบอาชีพของคนในตำบล จึงเกิดการรวมกลุ่มรวมตัวของแกนนำในชุมชนเพื่อร่วมอนุรักษ์และถ่ายทอดสู่เยาวชนจากรุ่นสู่รุ่น รวมทั้งใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งเป็นทุนทางสังคมที่สำคัญช่วยในการพัฒนาตำบล การสร้างอาชีพ สร้างรายได้ และความบันเทิงใจ โดยยึดหลักคุณธรรมของศาสนา พัฒนาอย่างยั่งยืนกับผู้คนทุกเพศทุกวัย ให้เกิดความรู้ ความภาคภูมิใจ ดำรงตนอยู่ในชุมชนอย่างมีความสุขอย่างยั่งยืน เช่น แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ ความรู้ด้านการจักสาน หมอลำกลอนประยุกต์ การทำขนมไทยสูตรโบราณ กลุ่มที่ทำการอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านชุมชนตำบลหาดสองแคว ประชาชนในตำบลหาดสองแควร่วมกับวัดหาดสองแคว ได้เล็งเห็นถึงปัญหาการขาดการอนุรักษ์ภูมิปัญญา วัสดุอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในการประกอบอาชีพหรือในชีวิตประจำวันตั้งแต่สมัยอดีตจนถึงปัจจุบัน  เพื่อให้เป็นแหล่งรวบรวมโบราณวัตถุไว้มิให้สูญหายไป และให้คนในชุมชนเกิดจิตสำนึกรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น จึงได้มีการประชุมปรึกษาหารือกลุ่มแกนนำในชุมชนได้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ขึ้น เพื่อให้เป็นแหล่งองค์ความรู้ในเรื่องของวิวัฒนาการการเปลี่ยนทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจ การศึกษา และนอกจากนั้นยังเป็นการจัดการทรัพยากรที่มีความสัมพันธ์ระหว่างคนกับธรรมชาติ คนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ คนกับสังคมและคนกับแหล่งเรียนรู้ กล่าวคือศูนย์บูรณาการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชนพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดหาดสองแคว  อำเภอตรอน  จังหวัดอุตรดิตถ์

กลุ่มจักสานและผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน หมู่ที่  7 กลุ่มจักสานไม้ไผ่เกิดจากผู้สูงอายุว่างงาน และเห็นว่าในท้องถิ่นมีไม้ไผ่ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ จึงมีการจักสานผลิตภัณฑ์พื้นบ้านขึ้น และมีการจักสานกันมาอยู่เรื่อยๆ แต่ยังไม่มีการรวมกลุ่มกัน  กลุ่มแกนนำในชุมชนเห็นความสำคัญจึงได้มีการประชุมปรึกษาหารือกันและชวนกันรวมกลุ่มจักสานผลิตภัณฑ์พื้นบ้านเพื่อที่จะหารายได้เสริม  จึงได้มีการรวมกลุ่มกันในปี 2547 โดย นางพยุง สามศรีศร เป็นหัวหน้ากลุ่ม มีจำนวนสมาชิก 6 คน โดยสมาชิกจะมีการร่วมกันจักสานสินค้าจากไม้ไผ่เป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตด้านการประกอบอาชีพ การทำมาหากิน เช่น ตะกร้า ชะลอม ไซ ลอบ ตะแกรง ซุ่มไก่ กระชังใส่ปลาฯลฯ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านที่อยู่ในตำบลจึงควรอนุรักษ์ให้คงอยู่ และสามารถใช้เป็นอาชีพเสริมได้ด้วย ซึ่งมีการกระจายอยู่ในหลายพื้นที่ของตำบล ซึ่งการอนุรักษ์ฟื้นฟูได้รับการหนุนเสริมจาก อบต.หาดสองแคว และยังเป็นการส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ส่งเสริมความรักความสามัคคีในกลุ่มด้วย

กลุ่มจักสานและผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน หมู่ที่ 2 กลุ่มจักสานหมู่ 2 เกิดแรงบันดาลใจในการตั้งกลุ่ม ซึ่งเห็นว่าคนในชุมชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการว่างงานจากการการประกอบอาชีพหลัก จึงคิดตั้งกลุ่มขึ้นมาเพื่อให้คนในชุมชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการมีรายได้เสริมจากการประกอบอาชีพหลักและให้ผู้สูงอายุ และผู้พิการได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์ภูมิปัญญาของตำบล และนำสู่การถ่ายทอดให้แก่เด็กและเยาวชน กลุ่มจักสานมีสมาชิกทั้งหมด 20 คน รวมกันทำตะกร้า ชะลอม ลอก โดยมีการสนับสนุนของ อบต. ทั้งนี้ในการรวมกลุ่มกันทำให้มีอาชีพเสริม และให้ครอบครัวของสมาชิกมีรายได้เพิ่มขึ้น  สร้างความสามัคคีความมั่นคงให้กับคนในชุมชนอีกด้วย

กลุ่มขนมไทยสูตรโบราณ กลุ่มขนมไทยสูตรโบราณเกิดจากการรวมตัวของกลุ่มสตรีแม่บ้านในชุมชน ที่ว่างจากการประกอบอาชีพหลัก คือการประกอบอาชีพเกษตรกรรม จึงรวมกลุ่มกันทำขนมและอาหารจากการทำกินกันในครอบครัวและแบ่งปันให้เพื่อนบ้านมีการแลกเปลี่ยนกันเกี่ยวกับการทำขนม และเกิดการรวมกลุ่มเพื่อทำขนมและอาหาร ต่อมามีนโยบายกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หน่วยที่ 72 สนับสนุนกลุ่มในการประกอบอาชีพเสริม  จึงมีการประชุมกลุ่มแกนนำในชุมชน ชักชวนผู้สนใจเข้าร่วมกลุ่ม และพิจารณาคัดเลือกกลุ่มเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หน่วยที่ 72  จึงเกิดกลุ่มขนมไทยสูตรโบราณ และนำสู่การถ่ายทอดให้แก่เด็กและเยาวชน  จึงเป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อเด็กและเยาวชนในตำบลด้วย ขนมไทยสูตรโบราณไม่ค่อยมีใครทำและไม่มีผู้สืบทอด ทางกลุ่มจึงมีการพัฒนาสูตรขนมไทยสูตรโบราณ และทำขนมไทยสูตรโบราณจำหน่ายโดยการใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นทำให้เกิดการอนุรักษ์และสืบทอดการทำขนมไทยสูตรโบราณ เกิดศูนย์การเรียนรู้แก่คนรุ่นหลังและสร้างรายได้เสริม  ซึ่งปัจจุบันทางกลุ่มได้จัดตั้งเป็นศูนย์ถ่ายทอดความรู้ในเรื่องขนมไทยสูตรโบราณที่ใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นให้ผู้ที่สนใจเข้ามาเรียนรู้ได้

Visit the new site http://lbetting.co.uk/ for a ladbrokes review.