แหล่งเรียนรู้

สารบัญ

ระบบการเรียนรู้เพื่อเด็กและเยาวชน

แนวคิดหลัก

เรียนรู้และการจัดกิจกรรมเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาคน โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาท้องถิ่นในอนาคต ทั้งนี้การเสริมสร้างในการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้เกิดความรู้และการร่วมทำกิจกรรมของเด็กและเยาวชนในท้องถิ่น โดยอาศัยการถ่ายทอดความรู้จากผู้รู้ในชุมชนและการจัดกระบวนการศึกษาที่เน้นการเรียนรู้จากการร่วมทำกิจกรรมต่างๆ ของเด็กและเยาวชน เพื่อเด็กและเยาวชนสามารถนำมาปรับใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันและมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นต่อไปได้ องค์การบริหารส่วนตำบลหาดสองแควมีแนวคิดเน้นบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมโดยคำนึงถึงหลักการและแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนและประชาสังคมในท้องถิ่น รวมทั้งกลุ่มเด็กและเยาวชนเข้ามามีบทบาทในกระบวนการตัดสินใจทางการบริหารราชการ โดยเฉพาะส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหาดสองแคว ในการพัฒนาสังคม และมีส่วนร่วมกับผู้ใหญ่และหน่วยงานของรัฐในการแก้ไขปัญหาของชุมชน ในด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สภาเด็กและเยาวชนตำบลหาดสองแคว สภาเด็กและเยาวชน เกิดจากกลุ่มผู้ใหญ่เห็นเด็กๆในชุมชนวิ่งเล่นไม่มีกิจกรรมทำ จึงได้หากิจกรรมให้ทำเพื่อสร้างรายได้และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์จึงได้สร้างกลุ่มปุ๋ยหมัก ปลูกผัก และปั่นจักรยานจำหน่ายผักตามหมู่บ้าน จนสามารถขยายการจัดการขยะโดยชุมชนทั้งตำบล ซึ่งเป็นแหล่งศึกษาดูงานและได้เผยแพร่กิจกรรมของเยาวชนผ่านสื่อโทรทัศน์หลายช่อง และได้เริ่มจัดตั้งสภาเด็กและเยาวชนตำบลหาดสองแควอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2553 องค์การบริหารส่วนตำบลหาดสองแควมีแนวคิดเน้นบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมโดยคำนึงถึงหลักการและแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนและประชาสังคมในท้องถิ่น รวมทั้งกลุ่มเด็กและเยาวชนเข้ามามีบทบาทในกระบวนการตัดสินใจทางการบริหารราชการ โดยเฉพาะส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหาดสองแคว ในการพัฒนาสังคม และมีส่วนร่วมกับผู้ใหญ่และหน่วยงานของรัฐในการแก้ไขปัญหาของชุมชน ในด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการจัดตั้งสภาเด็กและเยาวชนตำบลหาดสองแควได้มีการลงพื้นที่แบบหมุนเวียนไปในพื้นที่ 7 หมู่บ้านเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านยาเสพติด การเมือง รวมทั้งส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมสร้างสรรค์ที่เป็นประโยชน์รับทราบปัญหาความต้องการและรับฟังข้อเสนอแนะจากเด็กและเยาวชนในพื้นที่ตำบลหาดสองแควเพื่อนำข้อมูลหรือปัญหามาทำการปรับปรุงแก้ไขให้แก่เด็กและเยาวชนต่อไป

กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.น้อย)  ตำบลหาดสองแคว กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.น้อย) เป็นการรวมกลุ่มของเยาวชนตำบลหาดสองแคว เพื่อทำกิจกรรมร่วมกันและใช้เวลาว่างจากการเรียนในวันเสาร์ - อาทิตย์ และช่วงปิดภาคเรียนเพื่อเป็นการเรียนรู้ในด้านสาธารณสุข  อสม.ประจำหมู่บ้านสามารถถ่ายทอดความรู้สู่เด็กและเยาวชน(อสม.น้อย) ในชุมชนตำบลหาดสองแควได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ โดยอสม.น้อยได้เป็นส่วนหนึ่งมีบทบาทในด้านการช่วยเหลือชุมชน ปลูกจิตสำนึกที่ดีสนับสนุนให้เยาวชนที่มีความสนใจ ตั้งใจ และเสียสละเวลาช่วยเหลือประชาชนได้ อสม.น้อยได้ร่วมทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพของประชาชนตำบลหาดสองแคว  ดังนี้ 1.)การวัดความดันให้กับผู้สูงอายุ 2.) มีการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงและวัดรอบเอวให้กับประชาชนในหมู่บ้าน 3.) การออกตรวจลูกน้ำยุงลาย และใส่ทรายอะเบท ตามบ้านเรือนในชุมชน 4.) การคว่ำกระป๋อง กะลาและแหล่งที่มีน้ำขัง และ 5.) การเลี้ยงปลาหางนกยูงเพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำเชื้อโรคก่อให้เกิดโรคไข้เลือดออก ได้มีการจัดกิจกรรมให้มีการอบรมให้ความรู้กับเยาวชนที่เป็น อสม.น้อย เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชน และเรียนรู้การอยู่ร่วมกันและยังได้พัฒนาหมู่บ้านในชุมชน สร้างประโยชน์ให้กับหมู่บ้านได้อย่างยั่งยืนต่อไป

กลุ่มอนุรักษ์รถโบราณ กลุ่มอนุรักษ์รถโบราณ เกิดจากกลุ่มเยาวชนในตำบลมีใจรักรถเก่าและมีความชำนาญทางด้านเครื่องยนต์ จึงได้มีการรวมกกลุ่มกันแต่งรถโบราณขึ้นมาเพื่อการอนุรักษ์เก่าไว้ให้รุ่นน้องได้ดู เยาวชนกลุ่มอนุรักษ์รถโบราณจะมารวมกลุ่มกันทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อชุมชน โดยการเก็บขยะ ดูแลต้นไม้ข้างทาง รวบรวมเงินและเครื่องนุ่งห่มเพื่อบริจาคแก่ผู้สูงอายุ โดยสมาพันธ์รถโบราณภาคเหนือรวบรวมไปแจก นอกจากนี้ยังเข้าร่วมทำงานกับสภาเด็กและเยาวชนในการหาข้อมูลปัญหาความต้องการของเยาวชน มีส่วนร่วมในกิจกรรมแข็งขันกีฬาในตำบล เด็กๆ มีแนวคิดพยายามดึงดูดเด็กรุ่นน้องเข้ากลุ่มเพื่อร่วมทำประโยชน์แก่ชุมชน โดยมีกลวิธี คือการรวมกลุ่มไปเที่ยวโดยใช้รถโบราณ ซึ่งจะจัดระบบการดูแลกันเองขณะเดินทาง

กลุ่มพัฒนาฝีมือแรงงานงานจากภูมิปัญญาท้องถิ่น(ไม้กวาดจากทางมะพร้าว) แนวคิดการเกิดกลุ่มทำไม้กวาดทางมะพร้าว เริ่มจากชาวบ้านประสบปัญหาการว่างงานกันเป็นจำนวนมาก ทำให้ชาวบ้านขาดรายได้ รวมถึงกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มคนพิการในหมู่บ้านด้วยที่ไม่มีงานทำ ต่อมา ผู้ใหญ่บุญนาค เอกา มีแนวคิดที่จะแก้ไขปัญหาการว่างงานให้กับชาวบ้าน ผู้ใหญ่บุญนาค เอกา จึงจัดให้มีการประชุมปรึกษาหารือร่วมกันเพื่อรับฟังความคิดเห็น หลังจากที่มีการประชุมร่วมกันเสร็จแล้ว ก็มีกาจัดตั้งกลุ่มทำไม้กวาดทางมะพร้าวขึ้นในชุมชน โดยสมาชิกและแกนนำหลักก็จะเป็นกลุ่มแม่บ้านหาดสองแคว กลุ่มคนว่างงาน กลุ่มผู้สูงอายุ โดยมีวิธีการสมัครเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มคือ(ผู้ที่จะเข้าเป็นสมาชิกต้องจ่ายคาสมัคร คนละ 20 บาท) และมีการฝึกอบรมให้ความรู้เพิ่มเติมในเรื่องการทำไม้กวาด ทำให้สมาชิกกลุ่มทำไม้กวาดจำหน่ายโดยการใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น ทำให้เกิดการอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น เกิดศูนย์การเรียนรู้แก่คนรุ่นหลังและสร้างรายได้เสริม ซึ่งปัจจุบันทางกลุ่มได้จัดตั้งเป็นศูนย์ถ่ายทอดความรู้ในเรื่องการทำไม้กวาดจากทางมะพร้าวที่ใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นให้ผู้ที่สนใจเข้ามาเรียนรู้ได้

Visit the new site http://lbetting.co.uk/ for a ladbrokes review.